ความสัมพันธ์ระหว่างลูกตากับสายตาสั้น

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555


ความสัมพันธ์ระหว่างลูกตากับสายตาสั้น
แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1.การเจริญเติบโตของลูกนัยน์ตา
1.1 เส้นผ่าศูนย์กลางของลูกนัยน์ตา (Axial length)
ถ้าลูกตามีขนาดยาวมากก็จะทำให้สายตาสั้นมาก
1.2 ระบบหักเหของแสง (Refractive System) ซึ่งเกี่ยวกับความผิดปกติของสิ่งเหล่านี้
1.2.1 Index (ดัชนีหักเหแสง) ผิดปกติจะทำให้เกิดสายตาสั้น เช่น
- Aqueous humour, lens nucleus, cornea สูงกว่าปกติจะทำให้เกิดสายตาสั้น
- Vitreous humour, lens cortex ตำ่กว่าปกติจะเกิดสายตาสั้น
1.2.2 Curvature (ความโค้ง)
ความโค้งของกระจกตาดำ และเลนส์แก้วตามากกว่าปกติจะทำให้เกิดสายตาสั้น
1.2.3 Aqueous chamber
ความลึกทางด้าน anterior ลดลงทำให้เกิดสายตาสั้น

Degree of error

ลำดับ
ระดับความผิดปกติ
ค่าสายตาผิดปกติ
1
Very low (ต่ำมาก)
-0.25 ถึง -1.00 D.
2
Low (ต่ำ)
-1.00 ถึง -3.00 D.
3
Medium (ปานกลาง)
-3.00 ถึง -6.00 D.
4
High (สูง)
-6.00 ถึง -10.00 D.
5
Very High (สูงมาก)
มากกว่า -10.00 D.

สำหรับชนชาติไทยพบว่า มีสายตาสั้นน้อยกว่าชนชาติเอเชียอื่นๆ ผลงานของ นพ.นิยม คอนยาม่า ได้ค้นคว้ากับเยาวชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี พ.ศ.2511 แสดงให้เห็นว่า สายตาส่วนใหญ่เป็นปกติในอายุ 12-18 ปี ซึ่งในระยะนี้ชนชาติญี่ปุ่นสายตาสั้นประมาณ -1.00 D. ถึง -1.50 D.

- เด็กไทยในวัย 12-18 ปีพบว่าลูกตายาวพอกัันกับชนชาติอื่น แต่พบว่ากระจกตาดำของเด็กไทยโค้งมากกว่า ซึ่งเป็นผลให้เกิดสายตาสั้น แต่แก้วตาของคนชาติอื่นโค้งน้อยลงซึ่งในคนปกติจะทำให้เกิดสายตายาว แต่เนื่องจากกระจกตาดำมีความโค้งมาก รวมกับแก้วตาซึ่งมีความโค้งน้อยจึงบวกลบกันทำให้เด็กส่วนใหญ่มีสายตาปกติได้

- ในการศึกษากับเด็กนักเรียนที่อำเภอบางปะอิน ก็เช่นกันพบว่าเด็กส่วนใหญ่เป็นสายตายาว และเมื่ออายุมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสายตาปกติหรือสายตาสั้นเป็นต้น แต่ก็ยังคงมีสายตายาวมากกว่าสายตาสั้น

ชนชาติญี่ปุ่น
ชนชาติญี่ปุ่น
ชนชาติไทย
ชนชาติไทย
ความผิดปกติ
ชาย
หญิง
ชาย
หญิง
สายตาปกติ
42.7%
44.6%
60.7%
55.6%
สายตาสั้น
52.4%
51.9%
25%
24.4%
สายตายาว
4.9%
3.6%
14.3%
20.1%

พยาธิสภาพทางคลินิก
นัยน์ตามักมีขนาดใหญ่และโปนกว่าธรรมดา ช่องหน้าม่านตาดำมักจะลึก รูม่านตาอาจมีขนาดใหญ่ และมีปฏิกิริยาต่อแสงน้อย Circular fibres ของกล้ามเนื้อซิเลียรี่มักจะฝ่อ เนื่องจากขาดการกระตุ้นในขณะที่มี Accommodation

คนที่สายตาสั้นมากๆ อาจพบว่ามีการแกว่งของม่านตาได้เล็กน้อย เนื่องจากขาดการพยุงตัวโดเลนส์นูน อาจพบว่าส่วนด้านหลังตาขาวมักจะบางกว่าปกติ

ถ้าตรวจดูด้วย Ophthalmoscope อาจพบว่ามีการฝ่อของเรตินา (Retina) และคอลอยด์ (Choroids) โดยทั่วไปที่ขั้วประสาทตาจะมี Myopic crescent ซึ่งเกิดจากขั้วด้านหลังของนัยน์ตายาวออกไป ทำให้เรตินาและคอลอยด์ (Choroids) แยกออกจากขอบด้านนอกของขั้วประสาท บางราย Myopic crescent (มีรูปร่างคล้ายพระจันทร์เสี้ยว) อาจขยายเป็นวงรอบๆ ขั้วประสาท และอาจขยายไปถึงบริเวณแมคคูลา (Macula)

ในรายที่สายตาสั้นมากๆ อาจมี Staphyloma ของขั้วด้านหลังของนัยน์ตา (Staphyloma คือการโปนไปข้างหลังของเปลือกลูกตาที่ขั้วด้านหลังของนัยน์ตา) และมีการเสื่อมทำให้สายตาเสียอย่างมาก

ในรายที่มีการเสื่อมของเรตินา (Retina) และคอลอยด์ (Choroids) ทั่วๆไป Pigme ในชั้น Pigment layer ของเรตินา (Retina) จะน้อยกว่าปกติ และเกิดการฉีกขาด และเลือดออกที่เรตินา (Retina) วิทเทรียส (Vitreous) มักจะเสื่อมและเหลว

อาการและการแสดงออก
อาการมักขึ้นอยู่กับดีกรีของสายตาสั้น คนที่สายตาสั้นเล็กน้อยหรือปานกลาง อาจไม่มีอาการอย่างใดนอกจากมองภาพไกลๆ ไม่ชัด แต่สามารถทำงานใกล้ได้อย่างปกติโดยไม่ต้องใช้ Accommodation แต่บางรายอาจปวดตาหลังจากใช้สายตามองใกล้ เนื่องจากมี Convergence มากกว่าปกติ ทำให้เกิด Eye strain(เครียด)ขึ้น บางครั้ง Convergence ที่มากกว่าปกตินี้ อาจไปกระทบกระเทือนถึง Accommodation ได้เนื่องจากแรงกระตุ้นทางสรีรวิทยา (Physiological impulse) ที่เกิดขึ้นไปกระตุ้น Accommodation ด้วยจึงทำให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อซิเรียรี่ (Ciliary spasm) ขึ้นจะยิ่งทำให้เกิดสายตาสั้นเทียมเพิ่มขึ้นอีก

บางรายกำลังของการเบนเข้าหากัน (Power of convergence) จะลดน้อยลงจนทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ของกล้ามเนื้อตา (Muscular imbalance) และเป็นผลทำให้การมองเห็นสองตา (Binocular vision) เสียไป ผู้ป่วยจะใช้นัยน์ตาเพียงตาข้างเดียว อีกข้างหนึ่งจะเบนออก ทำให้เกิดตาเหล่ชนิดออกนอก (Divergent squint) ขึ้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น